วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
 เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี 22 วัน [1] เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ สิริรวมพระชนมายุ 58 พรรษา
พระองค์ได้รับสมัญญาว่า "ปิยมหาราช" แปลว่า มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก และว่า "พระพุทธเจ้าหลวง"

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 (พระราชสมภพ 5 ธันวาคม 2470) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ขณะนี้ จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประเทศไทย[2]
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชกาลของพระองค์ เกิดรัฐประหารโดยกองทัพสิบกว่าครั้ง รัฐธรรมนูญเกือบ 20 ฉบับ และนายกรัฐมนตรีเกือบ 30 คน
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์[3][4][5] อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา[5] คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[6][7] กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้[8]
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์[9] กับทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจำนวนหนึ่งด้วย[10] ด้านสินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556[11] เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 พระองค์มีพระราชทรัพย์ 30,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ดูหมายเหตุด้านล่าง)[12] สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อสวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว[13] ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้ำ สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ[14]

พระยาลิไทยเป็นกษัตริย์องค์ที 6

พระยาลิไทยเป็นกษัตริย์องค์ที 6 
แห่งอาณาจักรสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางั่วนำถุม เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัยเมื่อปี ศ. พ.1882
เมื่อพระยาเลอไทยเสด็จสวรรคตใน  พ.ศ. 1884 พระยางั่วนำถุมได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตในพ.ศ. 1890 พระยาลิไทยโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม พระยาลิไทยยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พญาลิไทย" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ๋น"(หนี-ยอ-ย่าย-พ่าย-จอ-แจ้น) ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก มีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชาวสยามต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมพระเทพามาตย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[1] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์[7]
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางซึ่ง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้วนั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา
หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มิเคยได้เป็นพระมหากษัตริย์ "ทรงธรรม" หรือ "ธรรมราชา" ในสายตาของทวยราษฎร์เลยแม้แต่น้อย ดังปรากฏใน คำให้การชาวกรุงเก่า ที่มีการเปรียบเทียบพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็จะพบว่าเชลยไทยชื่นชมพระมหากษัตริย์พระองค์หลังเสียมากกว่า นอกจากนี้ยังปรากฏในเอกสารของชาวตะวันตกที่ยืนยันความไม่เป็นที่นิยมของราษฎรอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ก็เพราะตลอดรัชสมัยของพระองค์ล้วนมีการสงครามทั้งกับต่างประเทศและการปราบกบฏภายในประเทศ ชาวนาจึงต้องถูกเกณฑ์ไปรบหรืออาจทนทุกข์เพราะความแร้นแค้นของภาวะสงคราม ยังความทุกข์สู่ทวยราษฎร์และไม่มีประโยชน์อันใดต่อชาวนา

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พันท้ายนรสิงห์




พันท้ายนรสิงห์
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในสองครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัยแต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา
ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3,000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน